แบบบ้านชั้นเดียว สไตล์ลอฟท์ ที่น่าอยู่ทุกหลัง แบบบ้านชั…
หมวดหมู่: บ้าน
บ้าน
บ้าน 2 ชั้น
บ้าน 2 ชั้น บ้านที่ดี คือ บ้านที่ถูกดีไซน์มาจากความรู้ความเข้าใจ และตอบโจทย์ในความต้องการของผู้อยู่อาศัยให้ได้มากที่สุดในปัจจุบันนี้ เชื่อว่าทุกคนต่างตามหาความสมดุล และความลงตัวในการใช้ชีวิต ในพื้นที่บ้านที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคุณ บางคนชอบ บ้าน ที่ดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อนอะไรมากมาย แต่บ้างท่านชอบบ้านที่มีความหรูหรา จึงทำให้มีหลายปัจจัยในการสร้างบ้านหนึ่งหลัง
และอีกหนึ่งจัยที่เป็นตัวกับหนดสำคัญก็คือ จำนวนสมาชิกในบ้าน บางบ้าน มีสมาชิกในครอบครัวน้อยคนก็อาจจะไม่จำเป็นต้องสร้างบ้านหลังใหญโตมากนัก แต่สำหรับบางครอบครัวมีสมาชิกเยอะจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบ้าน ที่มีพื้นที่เยอะๆเพื่อให้เพียงพอต่อคนในครอบครัว บ้าน 2 ชั้น จำเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ
ข้อดีของบ้านสองชั้น
สำหรับ ข้อดีของบ้านสองชั้น คือถ้าหากท่านมีที่ดินขนาดเล็ก แต่ต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่มากพอ หรืออยู่อาศัยหลายคน ต้องการห้องนอนหลายห้องบ้านสองชั้น ตอบโจทย์มากกว่า แม้ว่าบ้านสองชั้น จะใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่าบ้านชั้นเดียวในการก่อสร้าง บนขนาดที่ดินเท่ากัน แต่การสร้างบ้านสองชั้น ได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว
นอกจากนี้ยังเหมาะกับครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่อาศัยกันหลายคนในบ้านหลังเดียว การอยู่บ้าน 2ชั้น สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอย แบ่งชั้นได้อย่างชัดเจน สามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน ต่อให้มีสมาชิกครอบครัวหลายคนก็ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด
บ้านสองชั้นยังสามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานได้ดี และสะดวกกว่าบ้านชั้นเดียว อย่างเช่น ชั้นบนเป็นห้องนอน มีความเป็นส่วนตัว สบายใจ ไม่โดนรบกวนจากสมาชิกคนอื่น ๆ หรือห้องทำงานส่วนตัว ที่ต้องการความสงบและสมาธิ หรือถ้าหากมีเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของเครื่องใช้เยอะ ก็ยังสามารถแบ่งพื้นที่จัดเก็บได้ง่าย หรือเพิ่มห้องเก็บของอีกห้องก็ได้ เพราะมีพื้นที่เหลืออยู่เยอะ
และถ้าหากเปรียบเทียบกับบ้านชั้นเดียวแล้วนั้น บ้านสองชั้นจะถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ดีกว่า พื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่างจะค่อนข้างเย็นสบายกว่าชั้นบน เพราะมีในส่วนของชั้นบนที่ช่วยป้องกันความร้อนที่จะลงมาสู่ชั้นล่าง ด้วยความที่ตัวบ้าน บ้านสองชั้นยกพื้นสูงมากกว่าบ้านชั้นเดียว หากมองในแง่ความปลอดภัยจากสัตว์เลื้อยคลาน แมลง และโจรผู้ร้าย ที่บ้านสองชั้นสามารถป้องกันได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่สามารถรับประกันได้ 100% ยังคงต้องระมัดระวัง สร้างรั้วรอบขอบชิด และปิดบ้านให้เรียบร้อย
ข้อเสียของบ้านสองชั้น
ข้อเสียของบ้านสองชั้น ในการก่อสร้างบ้านสองชั้นนั้น ต้องอาศัยทักษะฝีมือในการก่อสร้างมากกว่าบ้านชั้นเดียว เนื่องจากมีระยะความสูงของเสาที่มากกว่า และมีการออกกแบบคานมากถึง 2 ชั้น เพื่อรับน้ำหนักพื้น เมื่อมีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย เพิ่มจำนวนชั้น แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างย่อมสูงกว่าในกรณีสร้างบ้าน หรือในกรณีซื้อบ้านสองชั้น
ก็จะเห็นได้ว่ามีราคาสูงกว่าบ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ส่วนใหญ่มีห้องนอนอยู่ชั้นบน อาจทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่นั่งวีลแชร์ต้องลำบาก และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการขึ้นลงบันได กรณีที่ทำห้องนอนไว้ชั้นล่างสำหรับผู้สูงอายุ หากเราพักอยู่ชั้นบนของบ้าน เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลืออาจไม่สะดวกนัก
บ้านชั้นเดียว
บ้านชั้นเดียว จึงครองใจคนอยากมีบ้าน ? คำตอบที่ได้ อาจมีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการตอบโจทย์ การใช้งานของคนทุกวัยโดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ ช่วยเพิ่มความปลอดภัย จากการเดินขึ้นลงบันไดอีกทั้งรูปทรงที่ไม่ใหญ่จนเกินไปไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด ที่ใช้ในการตัดสินใจสร้างบ้านชั้นเดียว จุดสำคัญอยู่ที่การเลือกรูปแบบเลือกดีไซน์ให้เหมาะกับการใช้งานจริง
และบริบทรอบด้านบทความนี้ได้รวบรวม 7 แบบ บ้าน ชั้นเดียวที่สวยมีสไตล์ ทั้งยังเข้ากันได้กับเขตร้อนชื้นอย่างเมืองไทยมาฝากกัน ซึ่งก่อนจะสร้างบ้านชั้นเดียว ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความร้อน จะเข้าสู่ภายในบ้านชั้นเดียวได้มากกว่า บ้าน สองชั้นขึ้นไป เนื่องด้วยหากเป็นบ้านสองชั้นชั้นล่างซึ่งเป็นส่วนพักผ่อน จะถูกกั้นความร้อนด้วยพื้นที่ของชั้นบน ความร้อนจากหลังคาจึงส่องลงมาไม่ถึงชั้นล่าง แต่ถ้าแบบบ้านชั้นเดียว ก็จะรับความร้อนโดยตรงจากบนหลังคา จึงจำเป็นต้องวางแผนในเรื่องการป้องกัน ความร้อนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนการติดแผ่นสะท้อนความร้อน ติดตั้งฉนวน รวมถึงการปลูกต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้ร่มเงา
ข้อดีของบ้านชั้นเดียว
สำหรับคนที่มีงบประมาณไม่เยอะมาก สามารถซื้อบ้านชั้นเดียว หรือออกแบบบ้านชั้นเดียวขนาดกะทัดรัดได้ เนื่องจากโครงสร้างหลักของบ้านไม่ซับซ้อนมากนัก หากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้าน 2 ชั้น ค่าก่อสร้างจึงต่ำกว่า บ้านชั้นเดียวเหมาะสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและผู้ที่นั่งวีลแชร์ เพราะห้องต่าง ๆ และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านถูกรวบรวมไว้ครบในชั้นเดียว จึงไม่ต้องปวดเมื่อยหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได และยังสะดวกในกรณที่ใช้วีลแชร์
สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก วัยกำลังซุกซน การอยู่อาศัยในบ้านชั้นเดียว ทำให้ไม่ต้องกังลหรือเฝ้าระวังว่าเด็ก ๆ จะปีนป่ายบันไดและผลัดตกลงมาได้รับบาดเจ็บ อยู่บ้านชั้นเดียว ไม่ต้องเหนื่อยกับการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ขึ้น-ลงบันได เพราะไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่ ก็จัดวางอยู่ที่ชั้น 1 ของบ้าน ช่วยทุ่นแรงได้มากถูกใจคุณแม่บ้านพ่อบ้าน
เพราะด้วยขนาดพื้นที่ของบ้านชั้นเดียว ทำให้ไม่ต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดมาก ยิ่งถ้าต้องถึงเวลาที่ต้องรีโนเวทบ้าน ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของบ้านที่เสียหายหรือทรุดโทรม เช่น ซ่อมหลังคารั่ว ทาสีผนังใหม่ ก็สามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โครงสร้างบ้านชั้นเดียวนั้นไม่ได้ซับซ้อนมากนัก หากมีพื้นที่มากพอก็สามารถต่อเติมและดัดแปลงพื้นที่ได้สะดวกกว่า แต่ในการจะต่อเติมต้องดูว่าไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
ข้อเสียของบ้านชั้นเดียว
บ้านชั้นเดียวจะต้องใช้ขนาดที่ดินมากกว่าบ้านสองชั้น จึงจะได้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านตามต้องการ ทำให้ต้องเสียเงินซื้อที่ดินเพิ่มมากขึ้น หรือทำให้ราคาบ้านชั้นเดียวแพงขึ้น อีกทั้งหากอยากจะขยับขยายต่อเติมในอนาคต การมีขนาดที่ดินน้อยก็เป็นข้อจำกัดได้ ด้วยความที่ทุกห้องอยู่ติดกับหลังคาโดยตรง ทำให้ความร้อนจากหลังคาแผ่เข้ามาภายในบ้านโดยตรง แต่สามารถป้องกันความร้อนได้ด้วยการติดฉนวนกันความร้อน หรือติดแผ่นสะท้อนความร้อน หรือเลือกใช้กระเบื้องหลังคาสะท้อนความร้อน และออกแบบบ้านชั้นเดียวให้มีช่องระบายอากาศให้อากาศถ่ายเท
บ้านชั้นเดียวอาจเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมได้ หากตั้งอยู่ในทำเลที่มีน้ำท่วมบ่อยครั้ง อาจะทำให้ตัวบ้านและทรัพย์สินภายในบ้านเกิดความเสียหายได้ รวมทั้งอาจต้องเจอกับปัญหาความชื้นของดิน ที่อาจทำให้เกิดปัญหาปลวกและเชื้อรา บ้านชั้นเดียวจึงควรสร้างให้ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 0.80-1.20 เมตร สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หรือโจรขโมย มักจะชอบหมายปองบ้านขั้นเดียว เพราะเข้าสู่ตัวบ้านได้ง่าย
ดังนั้นบ้านชั้นเดียวจึงควรทำรั้วบ้านให้แข็งแรง ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ป้องกันภัย และปิดบ้านให้มิดชิด บ้านชั้นเดียวแม้จะมีฟังก์ชั่นครบ แต่ด้วยพื้นที่ใช้สอยที่จำกัด และอยู่ในชั้นเดียวของบ้าน จึงอาจทำให้ความเป็นส่วนตัวลดลงได้ บ้านชั้นเดียวจึงเหมาะกับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดเล็ก ในการออกแบบแปลนบ้าน อาจเพิ่มส่วนข้างบ้านเพื่อความผ่อนคลาย มีมุมส่วนตัวเพิ่ม ทำให้ไม่ให้รู้สึกอึดอัด
บ้านแฝด
บ้านแฝด คือ บ้านที่สร้างขึ้นมาเป็นคู่ โดยแต่ละหลังมีลักษณะการสร้างที่เหมือนกัน และมีผนังด้านใดด้านหนึ่งติดกับผนังของบ้านอีกหนึ่งหลัง แต่ในปัจจุบันการสร้าง บ้านแฝดน่าอยู่ ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีลักษณะคล้ายกับบ้านเดี่ยว ด้วยการทำตัวบ้านให้ติดกันเพียงบางส่วน เช่น หลังคาที่จอดรถ และในบางโครงการก็มีการทำเป็น บ้านแฝดเทียม คือ บ้านแยกผนังและใช้เพียงแต่คานเชื่อมใต้ดิน จึงทำให้ดูจากภายนอกแล้วเหมือนเป็นบ้านเดี่ยว ซึ่งช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อาศัย บ้านเดี่ยว
บ้านแฝด ตอบโจทย์คนที่ต้องการบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยมาก มีฟังก์ชันการใช้งานอย่างครบครัน และให้ความเป็นส่วนตัวสูงในราคาที่จับต้องได้มากกว่าบ้านเดี่ยว นอกจากนี้ ยังเหมาะกับสองครอบครัวที่สนิทกัน เช่น พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อน เพราะการได้อยู่บ้านติดกันทำให้ติดต่อ ไปมาหากันได้สะดวก และยังช่วยกันดูแลบ้านให้กันได้อีกด้วย บ้านแฝดแบ่งได้เป็น 4 แบบดังนี้
-
- เชื่อมกันที่คานใต้ดิน
-
- เชื่อมกันที่คานด้านบน
-
- เชื่อมบางพื้นที่ในบ้าน
-
- เชื่อมเต็มผนัง
ข้อดีของ บ้านแฝด
สำหรับข้อดีของ บ้านแฝด คือการที่สร้างบ้านให้เชื่อมติดกันแบบนี้ เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ด้านข้างของบ้านให้กว้างมากขึ้น ทำให้ช่วยเพิ่มพื้นที่รอบบ้านได้อย่างแท้จริง การสร้างบ้านที่มีพื้นที่เชื่อมติดกันบางพื้นที่ในบ้าน ก็จะทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องปัญหาเสียงรบกวนจากบ้านหลังติดกัน แถมทำให้บ้านมีช่องแสงมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะชั้นบนที่มีระยะห่างเกิน 2 เมตร ทำให้เจาะช่องหน้าต่างได้ ผนังฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่จะทำผนังให้ห่างจากแนวเขตที่ดินไม่มาก เป็นระยะที่พอเดินผ่านได้เท่านั้น ซึ่งอาจเสียพื้นที่โดยไม่จำเป็น
ข้อเสียของ บ้านแฝด
ผนังที่ใช้ร่วมกันกับเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่จะติดตำแหน่งห้องพักอาศัย ทำให้เวลาอยู่อาศัยอาจจะได้ยินเสียงของบ้านข้าง ๆ ได้ แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มผนังอีกชั้น ผนังที่ใช้รวมกัน ถ้าเป็นตำแหน่งของห้องครัว เวลาทำกับข้าวอาจเกิดเสียงรบกวนบ้าง ผนังฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่จะทำผนังให้ห่างจากแนวเขตที่ดินไม่มาก เป็นระยะที่พอเดินผ่านได้เท่านั้น ซึ่งอาจเสียพื้นที่โดยไม่จำเป็น ยังติดข้อจำกัดของบ้าน ด้วยขนาดที่ดินไม่ใหญ่มาก ทำให้ฝั่งที่ต้องชิดกับเพื่อนบ้าน ยังคงต้องมีระยะห่างไม่มากนัก

ขั้นตอน การตกแต่งบ้านสไตล์ลอฟท์
ขั้นตอน การตกแต่งบ้านสไตล์ลอฟท์ ให้บ้านดูดีมีสไตล์ ขั้น…

แนวทาง แต่งบ้านสไตล์ย้อนยุค
แนวทาง แต่งบ้านสไตล์ย้อนยุค ให้มีกลิ่นอายความคลาสสิก แน…

แบบบ้าน สไตล์มินิมอลญี่ปุ่น
แบบบ้าน สไตล์มินิมอลญี่ปุ่น สวยเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน แบบบ…