
พรรณไม้
ความสำคัญของการเลือก พรรณไม้ ที่เหมาะปลูกในแต่ละพื้นที่
ความสำคัญของการเลือก พรรณไม้ที่เหมาะปลูกในแต่ละพื้นที่ การที่จะจัดสวนให้ได้ตามความต้องการของเจ้าของบ้านนั้น นอกจากจะจัดออกมาให้ได้ใกล้เคียงกับแบบที่เจ้าของ บ้าน เสนอมาแล้วนั้น ในส่วนของการจัดหา พรรณไม้ ที่ความสวยงามใกล้เคียงตามแบบให้มากที่สุด และต้องเป็น พรรณไม้ที่เหมาะปลูกในแต่ละพื้นที่ ที่สามารถปลูกในสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ได้ดีนั้น นับเป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่นักจัดสวนต้องศึกษาอย่างละเอียดและแม่นยำที่สุด เพราะสวนที่ดีจะต้องมีความยังยืนและสวยงามอยู่ตลอดเวลา สวนในพื้นที่บ้าน
อย่างไรก็ตามการจัดสวนไม่สามารถเลือกใช้พรรณไม้ได้ตรงตามแบบที่เจ้าของบ้านเลือกมาได้อย่างครบถ้วน เพราะไม้บางชนิดอาจจะเป็นพรรณไม้ที่เหมาะกับพื้นแห้งแล้ง หรือชนิดอาจจะเหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวจัด วันนี้เรามาทำความรู้จักกับพรรณไม้ที่เหมาะสมกับพื้นในแต่ละภาค ทั้ง 4 ภาคของประไทยกันครับ
พรรณไม้ที่เหมาะต่อการจัดสวนในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
1.ภาคกลาง
ในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยมีความหลากหลายทางลักษณะภูมิประเทศ พรรณไม้ ที่เหมาะปลูกในแต่ละพื้นที่ จึงมีความหลากหลายตามไปด้วย อย่างเช่นภาคกลางของประเทศไทย พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบลุ่ม น้ำที่ผสมอยู่ในดินมีปริมาณค่อนข้างมาก เพราะฉนั้นพรรณไม้ที่เหมาะต่อการปลูกในพื้นที่นี้ควรจะต่อน้ำได้ดี เช่น ต้นจิกน้ำ ต้นเสม็ดแดง ต้นไอริส ต้นพุทธรักษา ต้นเบิร์ดออฟพาราไดซ์ ต้นโมก ต้นเตยหอม และพรรณไม้ตระกูลเฟิร์น

ชื่อต้นไม้ : จิกน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula.

ชื่อต้นไม้ : เสม็ดแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium antisepticum

ชื่อต้นไม้ : ไอริส ชื่อวิทยาศาสตร์ : Iris

ชื่อต้นไม้ : พุทธรักษา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cannaceae

ชื่อต้นไม้ : เบิร์ดออฟพาราไดซ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strelitzia reginae Ait.

ชื่อต้นไม้ : โมก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia religiosa

ชื่อต้นไม้ : เฟิร์น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyathea gigantean (Wall. Ex Hook.) Holtt.

ชื่อต้นไม้ : เตยหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius
2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นที่ราบสูงดินค่อนข้างระบายน้ำได้ดี และยังมีฤดูร้อนที่ยาวนาน พืชที่เหมาสำหรับการปลูกในภูมิภาคนี้จึงเป็นชื่อที่มีความทนต่อแดด และทนต่อการขาดน้ำได้ดี เช่น ต้นมั่งมี ต้นชุมแสง ต้นพยอม ต้นพุด ต้นไทรเกาหลี ต้นหลิวเลื้อย ต้นเข็ม และต้นชาดัด

ชื่อต้นไม้ : มั่งมี ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carallia brachiata (Lour.) Merr.

ชื่อต้นไม้ : ชุมแสง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xanthophyllum lanceatum (Miq.) J.J. Sm.

ชื่อต้นไม้ : พยอม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea talura Roxb.

ชื่อต้นไม้ : พุด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kailarsenia godefroyana (Kuntze) Tirveng.

ชื่อต้นไม้ : ไทรเกาหลี ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus annulata

ชื่อต้นไม้ : หลิวเลื้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salix babylonica L.

ชื่อต้นไม้ : เข็ม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora

ชื่อต้นไม้ : ชาฮกเกี้ยน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carmonretusa(Vahl) Masam.
3.ภาคเหนือ
ภาคเหนือของประเทศไทย เป็นพื้นที่ ที่มีลัญษณะใกล้เคียงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จะมีความชื้นมากกว่าและมีมีอากาศที่ค่อนข้างเย็นกว่า พรรณไม้ ที่เหมาะในการปลูกในพื้นที่นี้ได้แก้ ต้นสนฉัตร ต้นสนมังกร ต้นหลิวลู่ลม ต้นเฟิร์น ต้นพลูด่าง ต้นมอนสเตอร่า กล้วยไม้ดิน และต้นนางพญาเสือโคร่ง

ชื่อต้นไม้ : สนฉัตร ชื่อวิทยาศาสตร์ : Araucaria heterophylla

ชื่อต้นไม้ : สนมังกร ชื่อวิทยาศาสตร์ : Juniperus chinensis L.

ชื่อต้นไม้ : หลิวลู่ลม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salix babylonica.

ชื่อต้นไม้ : เฟิร์น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyathea gigantean (Wall. Ex Hook.) Holtt.

ชื่อต้นไม้ : พลูด่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Epipremnum aureum

ชื่อต้นไม้ : มอนสเตอร่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monstera

ชื่อต้นไม้ : กล้วยไม้ดิน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathoglottis

ชื่อต้นไม้ : นางพญาเสือโคร่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus cerasoides
4.ภาคใต้
ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีฤดูฝนยาวนาน และดินมีความเค็มสูง พรรณไม้ที่เหมาะต่อการปลูกต้องทนน้ำและความเค็มของดินได้ดี ตัวอย่างเช่น ต้นโพธิ์ทะเล ต้นรักทะเล ต้นเฟริ์นก้านดำ ต้นบอนกระดาษ ต้นกกแก้ว ต้นบัวดิน ต้นเฟิร์นกีบแรด และต้นริบบิ้นชาลี

ชื่อต้นไม้ : จิกทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia asiatica

ชื่อต้นไม้ : รักทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scaevola taccada

ชื่อต้นไม้ : เฟิร์นก้านดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adiantum aethiopicum L.

ชื่อต้นไม้ : บอนกระดาษ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don.

ชื่อต้นไม้ : กกแก้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rynchospora nervosa Boeck.

ชื่อต้นไม้ : บัวดิน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zephyranthes minuta

ชื่อต้นไม้ : เฟิร์นกีบแรด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Angiopteris evecta (G.Forst.) Hoffm.

ชื่อต้นไม้ : ริบบิ้นชาลี ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callisia repens (Jacq.) L. (COMMELINACEAE)
การสร้างพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกต้นไม้
จะเห็นได้ว่าพรรณไม้ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเพราะพรรณที่เหมาะสำจัดสวนในประเทศไทยหลากหลายสายพันธุ์มาก จะเห็นได้ว่าพรรณไม้บางสายพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย ถึงประเทศไทยจะค่อนข้างร้อน และแดดแรงก็ว่าไม่มีผลกระทบมากนักต่อการจัดสวน เพราะการสร้างร่มเงาด้วยการปลูกต้นไม้ใหญ่ การเลือกตำแหน่งปลูกที่ได้รับร่มเงาจากตัวอาคาร เพื่อลดความเข้มของแสงแดดลงได้ประมาณ20-30 เปอร์เซนต์ ก็สามารถทำให้เราเลือกพรรณไม้สำหรับจัดสวนได้มากยิ่งขึ้น นอกจากการสร้างบรรยากาศให้คนเข้าใช้พื้นที่สวนได้ประทับใจแล้ว การสร้างบรรยากาศเพื่อให้สวนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อยอำนวย ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมากเลยที่เดียว : การสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมต่อการปลูกต้นไม้